หรือการทำลายงานศิลปะจะเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ของเหล่านักเคลื่อนไหว?
ในประวัติศาสตร์ของเรามีผลงานศิลปะมากมายที่ถูกทำให้เสียหาย ไม่ว่าจะเป็นจากการโจรกรรม หรือจากผู้ที่ไม่เห็นคุณค่าของชิ้นงาน ไปจนถึงผู้ที่ทำลายงานศิลปะอย่างจงใจ ย้อนกลับไปเมื่อปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในประเด็นร้อนแรงในวงการศิลปะ เมื่อเหล่านักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมได้เดินเข้าไปยังสถาบันศิลปะชื่อดังหลากหลายแห่ง และทำสิ่งที่เรียกว่า ‘อารยะขัดขืน’ โดยพวกเขาได้มุ่งเป้าไปที่งานศิลปะ โดยเฉพาะงานชิ้นเอกของโลก เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้คนให้ตระหนักถึงปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มีผลงานชื่อดังหลายชิ้นที่ได้รับการโจมตีจากเหล่านักเคลื่อนไหว เราขอยกผลงานบางชิ้นมาให้ทุกคนได้ชมกัน
Sunflowers (1897) by Vincent van Gogh
ผลงาน Sunflower หรือ ดอกทานตะวัน เป็นหนึ่งในผลงานเลื่องชื่อจากซีรีส์ ดอกทานตะวัน ของศิลปินขวัญใจมหาชน วินเซนต์ แวน โก๊ะ โดยภาพดอกทานตะวันชิ้นนี้จัดแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ (National Gallery) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2022 ได้มีนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมสาดซุปมะเขือเทศกระป๋องใส่ผลงาน ก่อนที่จะทากาวที่มือและแปะมือเข้ากับผนัง แต่ว่าภาพวาดไม่ได้รับความเสียหายใดๆ ยกเว้นเพียงบริเวณกรอบที่ได้รับความเสียหายเล็กน้อย
Mona Lisa by Leonadro da Vinci
เมื่อพูดถึงภาพวาดที่โด่งดังและมีอิทธิพลมากที่สุดในโลก หลายๆ คนคงนึกถึงภาพพอร์ตเทรตของหญิงสาวพร้อมกับรอยยิ้มปริศนาอย่าง ‘โมนา ลิซ่า’ ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานศิลปะชิ้นเอกของศิลปิน เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (Louvre Museum) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2022 ได้มีชายหนุ่มผู้พรางตัวโดยสวมวิกเป็นผู้หญิงและนั่งรถวีลแชร์ ปาเค้กใส่ผลงานชิ้นนี้ พร้อมตะโกนว่า “ยังมีผู้คนที่ทำลายโลกใบนี้” อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ภาพโมนา ลิซ่า ถูกกระทำความเสียหาย ผลงานจึงถูกจัดแสดงในกล่องกระจกนิรภัยกันกระสุน ซึ่งทำให้ในครั้งนี้ ภาพไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด
Girl With a Pearl Earring by Johannes Vermeer
ภาพพอร์ตเทรตของสาวงามขณะเอี้ยวศรีษะมองมายังผู้ชมพร้อมกับต่างหูมุก เป็นอีกหนึ่งผลงานชิ้นเอกของโลก โดยศิลปินชาวดัตช์ โยฮันเนส เวอร์เมียร์ (Johannes Vermeer) ปัจจุบันแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมาริตซ์เฮาส์ (Mauritshuis) ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยเรื่องราวการสร้างความเสียหายต่อชิ้นงานเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม เมื่อนักกิจกรรมคนหนึ่งใช้กาวติดหัวตัวเองกับกรอบรูปชิ้นงาน ขณะที่อีกคนทากาวติดมือกับผนังข้างรูป ส่วนชายคนที่ 3 เทกระป๋องซุปมะเขือเทศรดบนร่างชายคนแรก พร้อมตะโกนถามว่า “คุณรู้สึกอย่างไร เมื่อเห็นผลงานอันงดงามและล้ำค่าถูกทำลายไปต่อหน้าต่อตา” หากว่าโชคดีที่กรอบรูปมีกระจกป้องกันภาพวาดไว้ ผลงานจึงไม่ได้รับความเสียหายและนำกลับมาจัดแสดงตามเดิม
ยังมีผลงานชิ้นเอกของโลกอีกหลายชิ้นที่ได้รับการจู่โจมจากเหล่านักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม หากว่าผลงานทั้ง 3 ชิ้นที่เราได้ยกขึ้นมานั้นแทบจะไม่ได้รับความเสียหายใดๆ จากการโจมตีโดยเหล่านักกิจกรรม อันเนื่องจากว่า ผลงานเหล่านี้เป็นผลงานอันทรงคุณค่าซึ่งมีมูลค่าเกินกว่าที่จะประเมินได้ ผลงานจึงได้รับการป้องกันจากกระจกนิรภัยและระบบรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนา พร้อมรับมือกับทุกความเสี่ยงที่อาจสร้างความเสียหายต่อผลงาน
หากว่าไม่ใช่ทุกผลงานที่อยู่ภายใต้ระบบรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนาเท่าผลงานชิ้นเอกเหล่านี้ ผลงานศิลปะแต่ละชิ้นนั้นต่างเปี่ยมไปด้วยคุณค่าที่นอกเหนือจากคุณค่าทางสุนทรียะ แต่ว่า มีความเสี่ยงมากมายที่อาจสร้างความเสียหายต่องานศิลปะ ดังนั้นเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น การทำประกันภัยงานศิลปะจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ JWD Art Space เรามีประกันภัยงานศิลปะที่ครอบคลุมทุกบริการของเรา ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การขนส่ง การเคลื่อนย้าย และการติดตั้ง ให้ทุกคนมั่นใจว่าผลงานอันล้ำค่าของคุณได้รับการคุ้มครองจากทุกความเสี่ยง
References:
https://www.widewalls.ch/magazine/art-insurance
https://www.chubb.com/sg-en/articles/personal/collecting-art-art-insurance.html