8 ศิลปินผู้ตีความหมายของงาน Still Life ใหม่ในแบบร่วมสมัย
คุณคงเคยเห็นภาพเพ้นท์ติ้งสิ่งของต่างๆ ที่มาจัดวางร่วมกัน แจกัน ดอกไม้ ผลไม้ จานชาม เครื่องแต่งกาย หรือสิ่งของต่างๆ ซึ่งถูกจัดวางองค์ประกอบที่กำกับด้วยแสง สี ตำแหน่ง นั่นคือรูปแบบของการจัดวางแบบ Still Life หรือภาพหุ่นนิ่งที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 การออกแบบองค์ประกอบเหล่านี้อาจดูเหมือนง่ายในสายตาใครบางคน แต่แท้จริงแล้วคือการแสดงและสะท้อนตัวตน รสนิยม หรือแม้แต่ทัศนคติของศิลปิน หลายคนคงเคยเห็นว่าภาพวาดส่วนใหญ่มักถูกจัดวางให้มีความโออ่า ดูดีมีชาติตระกูล ร่ำรวยด้วยภาพลักษณ์ความมีอันจะกิน นั่นคือสวยงามตามค่านิยมในยุคๆ หนึ่ง แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว เราอยู่ในโลกที่ความเป็นดิจิตัลได้เชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันจนกลายเป็นความกลมกล่อม ไม่ว่าจะเป็นรสนิยม เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์แขนงต่างๆ แฟชั่น ดนตรี อาหาร เหล่านี้มีผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ และแสดงออกมาผ่านวิถีทางร่วมสมัย จนแม้แต่ผลงานศิลปะแบบ Still Life ก็ถูกให้ความหมายในแบบที่บิดออกไปจากความเข้าใจเดิมๆ
JWD Art Space คัดสรร 8 ศิลปินผู้สร้างแนวทางและความหมายที่เปลี่ยนไป ผ่านจิตรกรรมนามธรรม, การแสดง, งานฝีมือ และสื่อดิจิตัลมีเดีย สื่อให้เห็นถึงวิถีร่วมสมัยในโลกปัจจุบันที่เราเป็น อยู่ คือ
Anna Valdez
Anna วาดและเพ้นท์โต๊ะกับพื้นที่เต็มไปด้วยหนังสือศิลปะ (ทั้งของDavid Hockney, Georges Braque, และ Philip Pearlstein) ต้นไม้ กระโหลกวัว หอยสังข์ และบรรดาแจกันที่ตกแต่งประดับลวดลายเชิงประเพณีนิยมจากทั่วโลก
“สิ่งที่ฉันนำมาวาดอาจจะดูธรรมดาทั่วไป แต่เมื่อมารวมกัน กลับบอกเล่าเรื่องราวเฉพาะของฉัน โดยจะเห็นได้ผ่านพื้นเพที่เห็นได้ สัญลักษณ์ และองค์ประกอบ” Valdez เล่าให้ฟัง นอกจากนี้ยังเสริมอีกว่าเธอสนใจในงานประเพณีของชาวดัตช์ในช่วงศตวรรษที่ 17 เป็นพิเศษ ยุคที่ศิลปินนิยมวาดสัญลักษณ์แห่งความตายเพื่อให้ผู้ชมผลงานระลึกถึงความตายของตัวเอง ผ่านองค์ประกอบอย่างพืชพันธุ์ หอย กระดูก หิน โดยมีทั้งงานจิตรกรรม ร่างแบบ เซรามิค หรือเส้นใย เพื่อสื่อสารถึงโลกแห่งธรรมชาติ เวลา และชีวิตที่ร่วมสมัยกัน
Arden Surdam
งานภาพถ่ายของเธอดั่งโอบกอดความน่าขนพองสยองเกล้าเอาไว้ จะเห็นว่าองค์ประกอบอย่างพวงไส้กรอก ผ้าใบพลาสติกขนาดยักษ์ ร่างสัตว์โชกเลือด และผ้าปูที่นอนเปื้อน ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเธอได้อิทธิพลมาจาก Francis Bacon ปรมาจารย์แห่งความวิปลาศ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ เธอเริ่มนำกระบวนการการสร้างภาพคู่ขนานที่เชื่อมโยงด้วยนัยยะบางอย่างมาใช้ (diptychs และ triptychs) โดยศึกษาจากร่างกายมนุษย์ และให้ความเห็นว่าเหมือน ‘A slippery human chicken’ ซึ่งมีทั้งการเชื้อเชิญและหลีกเลี่ยงการบอกเล่าในคราวเดียว และไม่นานมานี้เองที่ Surdam ได้พยายามเล่นกับลำดับของสิ่งมีชีวิตที่รูปแบบใกล้เคียงกัน ชักนำให้ผู้ชมสังเกต 4 รูปภาพจากหลากมุมมองที่มาจากของสิ่งเดียวกัน (เช่น ภาพถ่าย, พื้นผิวของแก้ว, แผ่นสีครีม) เพื่อคาดการณ์ถึงฉากและเรื่องราวที่ใหญ่กว่าเดิม Surdam
Daniel Gordon
เขาใช้วิธีการนำถ่ายภาพในชีวิตประจำวันจากอินเทอร์เน็ต ทั้งผลไม้ แจกัน ดอกไม้ เหยือก แล้วจัดองค์ประกอบกันใหม่ในสตูดิโอของเขา ก่อนจะถ่ายภาพในการจัดวางแบบใหม่ เฟรมที่ออกมาจึงดูมีความซับซ้อน เมื่อมองจากภาพสองมิติ ผู้ชมอาจต้องแยกแยะว่ามันเป็นภาพจริงหรือมุมมองแบบดิจิตอล แอปเปิ้ลอาจผิดเพี้ยนกลายเป็นสีน้ำเงินหรือม่วง หัวหอมก็ดูทั้งแบนและเหมือนภาพปะแบบสามมิติในคราวเดียวกัน
การสร้างภาพลวงที่ทั้งไม่จริงและบิดเบือนนี้ได้สร้างงานที่เต็มไปด้วยอุบายในแบบของ Gordon เขาเล่าเสริมว่า
“งานของผมมีส่วนผสมระหว่างงานหุ่นนิ่ง, งานภาพเหมือน, และงานภูมิทัศน์ ผมชอบอะไรแบบนี้เพื่อที่จะยังเสริมเรื่องของประเพณีเข้าไป รวมถึงเล่นกับเรื่องราวใหม่ๆ ได้” ในช่วงกักตัวจากเหตุโควิด เขาได้สร้างผลงานชื่อ Night Picture ขึ้นมา เป็นงานขนาดเล็กที่เล่นกับสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้านจริงๆ
Hilary Pecis
งานของเธอเต็มไปด้วยหลักฐานที่อ้างอิงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ทั้งงานจิตรกรรมโมโนกราฟของ Alice Neel, Henry Taylor, George O’Keeffe, Eva Hesse, Francis Bacon, Kerry James Marshall, Hilma af Klint และ Lari Pittman โดยเธอมองว่าในแต่ละผลงานล้วนบอกเล่าเรื่องราวทางอิสรภาพแฝงอยู่ มีการกำเนิดอยู่ในนั้น แต่ก็ปรากฏความเป็นนิรันดร์ด้วย โดยอ้างอิงแนวบันดาลใจมาจากสีในยุคการเคลื่อนไหวศิลปะแนวโฟวิสม์กับแคลิฟอร์เนียฟั้งค์
Holly Coulis
เสน่ห์ของงานภาพนิ่งคือความนิ่งที่ซ่อนในตัวมันเอง Holly อธิบายว่าในงานประเภทอื่นๆ (รวมถึงงานนามธรรมด้วย) มักจะมีจังหวะการหยุดบางอย่าง งาน Still Life นิ่งในตัวมันเองตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงภายหลัง จนกระทั่งมีใครไปยุ่งกับมันนั่นล่ะ การจัดวางจึงให้ทั้งความรู้สึก ‘ใกล้ชิดและเป็นส่วนตัว’ เมื่อมองไปยังงานของเธอ ผู้ชมจะจ้องมองยังสิ่งของส่วนตัวที่มองไม่เห็น สีมะนาวจี๊ด แจกัน บุหรี่ มีด และแมวเหมียวที่เต้นไปรอบๆ ผืนผ้าใบ ศิลปินสร้างขอบของรูปทรงด้วยการเน้นย้ำ สร้างรัศมี แรงสั่นสะเทือน มีความเป็นศิลปะทั้งแบบ Pop art คิวบิสม์ และนามธรรม
Jean Shin
เธอเชื่อว่างาน Still Life จะนำเสนอให้ผู้ชมซาบซึ้งในความงามของสิ่งของในชีวิตประจำวัน นำเสนอในแบบของการเก็บรักษาและเป็นอนุสรณ์ ความเป็นจริงที่พรรณนาถึงระบบ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของศิลปิน ผู้คนรู้จักเธอจากงานจัดวางเชิงอนุเสาวรีย์ ถ้วยรางวัลกีฬานับโหลบนฐานสีขาว โครงสร้างที่สร้างจากใบลอตเตอรี่ที่ถูกทิ้งแล้ว และยังสร้างประติมากรรมกลางแจ้งที่ทำจากร่มหักจำนวนมาก Jean Shin สนใจมีส่วนร่วมกับชุมชนในกระบวนการรวบรวมสิ่งของและเศษซากสิ่งของประจำวัน
Nicole Dyer
ความเป็นประเพณีป๊อปอาร์ตอันยิ่งใหญ่จากอาหารแบรนด์ดังถูกรวมเข้ากับงานศิลปะของเธอ ทั้งงานของ Andy Warhol และ Katherine Bernhardt รูปแกะสลักพื้นของแบรนด์ La Croix จิตรกรรมมัลติมีเดียจากแพ็คเกจของ Quaker Oats หมากฝรั่งขิง เธอสนใจว่าผลิตภัณฑ์สามารถ “กระตุ้นการตอบสนองทางอารมณ์ที่รุนแรง” ในตัวผู้ชมได้อย่างไร เช่นความคิดถึง ความหวัง หรือความมุ่งมั่น ลัทธิบริโภคนิยมเป็นสิ่งที่ศิลปินให้ความสนใจเป็นอย่างมาก บรรจุภัณฑ์เคลือบด้านสีสันสดใสสามารถทำให้อาหารขยะดูดีต่อสุขภาพได้อย่างไร
Pedro Pedro
ความใคร่รู้ กายภาพอันเหนือจริงนี่ล่ะที
Stephanie H, Shih
ศิลปินสร้างเซรามิกที่มีลัก
“งานของฉันเป็นประเภทชอบรำลึกเรื่องเก่าๆ สร้างความสะเปะสะปะ แต่ก็คลุมเครือพอที่จะพูดถึ
งานสามมิติของ Shih ได้กระตุ้นแรงปรารถนาบางอย่างในผู้ชม เชื้อเชิญให้จินตนาการถึงกา